ขำๆๆๆๆ

มีนักเรียนหญิงโรงเรียนหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปสอบสัมภาษณ์ เพื่อเรียนต่อ ในระดับวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎ์ธานี อาจารย์ผู้สอบสัมภาษณ์ :ถามว่า...เธอทราบคำขวัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือไม่
เด็กนักเรียนตอบ: ทราบค่ะ
อาจารย์ :ทราบก็ตอบมาซิ
เด็กนักเรียน: "เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยเกลื่อน เขื่อนใหญ่ ไข่ยาว " อาจารย์ ตกใจมาก เลยถามเด็กนักเรียนคนนั้นว่า...เธอเอาคำขวัญนี้มามากไหน ?เด็กนักเรียนหญิงคนนั้นตอบว่า : เพื่อนนักเรียนผู้ชายบอกมาค่ะ
....อาจารย์งงๆ เลยพูดกับนักเรียนคนนั้นว่า "ไอ้ที่ว่า เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย นั้นอาจารย์ไม่ติดใจสงสัยนะ แต่อาจารย์สงสัยคำว่า หอยเกลื่อน เขื่อนใหญ่ ไข่ยาว ซิ ว่ามันเป็นยังไงอธิบายหน่อย....
เด็กนักเรียนอธิบายว่า...."หอยเกลื่อน" ? ? ? ? หมายความว่า ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีหอยเกลื่อนกลาดหลายชนิดทั่วไป ตั้งแต่อ่าวอำเภอท่าชนะ ไชยา ท่าฉาง พุนพิน เมืองสุราษฎร์ กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก ค่ะ
....ส่วน เขื่อนใหญ่ คือเขื่อนรัชประภา หรือเขื่อนเชี่ยวหลาน..อ่ะค่ะใหญ่ม๊าก..ค่ะ ....*****สำหรับไข่ยาวเหรอคะ.... ก็อาจารย์ดูซิค่ะ**** ?? ? ไข่เค็มไชยาวางแผงขายริมถนนตั้งแต่อำเภอเวียงสระ บ้านนาสาร บ้านนาเดิม พุนพิน ท่าฉาง ไชยา ยาวไปถึงอำเภอท่าชนะ...คร้าาาาา
อาจารย์ :เธอผ่าน เลย ผ่านๆๆ.......

แนวทางการจัดเวร รพ.บางขัน

ที่มา/ความสำคัญ
สำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดให้ข้าราชการทั่วไป  ปฏิบัติงานวันราชการในวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 – 16.30 น.  หยุดราชการวันเสาร์ – อาทิตย์  หรือ  วันที่ทางราชการกำหนด  แต่ในส่วนของโรงพยาบาลซึ่งจะต้องจัดบริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนผู้เจ็บป่วยตลอด  24  ชั่วโมง  โดยแบ่งเป็น  3  ผลัดต่อวัน  คือ  เช้า  (08.00 – 16.00 )  บ่าย (16.00 – 24.00 น.)  และ  ดึก (24.00 – 08.00 น.)  กำหนดให้วันทำงานของพยาบาลทุกวันในแต่ละเดือนเป็นวันทำการ  หน่วยงานสามารถมอบหมายหน้าที่ให้แก่พยาบาลปฏิบัติงานได้ตามปกติในวันใดก็ได้  แต่รวมจำนวนวันแล้วไม่เกินจำนวนวันทำการปกติในแต่ละเดือน
                การปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายเกินเวลาปกติที่กำหนดไว้ของพยาบาล  จะมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข  คือ  ค่าตอบแทนปฏิบัติงานเวรบ่าย , ดึก    กรณีปฏิบัติงานเกินจำนวนวันที่กำหนดปกติจะได้ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ( เวรOT)  หากเวร  OT  ตรงกับเวรบ่าย , ดึก จะได้สิทธิ OT เพียงอย่างเดียว
สถานการณ์
                โรงพยาบาลบางขัน  มีบุคลากรพยาบาลไม่เพียงพอตามภาระงาน  หรือ มีการลา การไปราชการระหว่างเดือน  โรงพยาบาลจะต้องจัดพยาบาลเข้าปฏิบัติงานเกินจำนวนวันที่กำหนด  และในการจัดเวร  หรือมอบหมายหน้าที่ไปแล้วในระหว่างเดือนจะมีการแลกเปลี่ยนเวร หรือ ยกเลิกเวรที่เป็นการปฏิบัติงานนอกเวลา  (OT)  หรือมีการเรียกพยาบาลผู้อยู่ระหว่างลากิจ หรือลาพักผ่อนกลับมาปฏิบัติงาน

วัตถุประสงค์
                เพื่อให้หัวหน้าหอผู้ป่วยของกลุ่มการพยาบาลได้มอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานแก่พยาบาลทุกระดับ อย่างถูกต้องตามระเบียบ เสมอภาคเป็นธรรม และสามารถบริหารอัตรากำลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย
                แนวทางปฏิบัตินี้ครอบคลุมการมอบหมายหน้าที่การงานให้แก่บุคลากรพยาบาลทุกระดับ พนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ พนักงานประจำตึก ในหน่วยงานที่มีการจัดอัตรากำลังเป็นเวรผลัด ได้แก่ หอผู้ป่วยใน หอผู้ป่วยคลอด งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน งานผู้ป่วยนอก โดยได้แบ่งการมอบหมายงานหรือการจัดเวร เป็น 2 กรณี ได้แก่ การจัดเวรขึ้นปฏิบัติงานในหน่วยงาน และ การจัดเวรขึ้นปฏิบัติงานเวรออนคอล/เวรส่งต่อผู้ป่วย โดยพักอยู่บ้านพัก
คำนิยามศัพท์
                การจัดเวร หมายถึง การมอบหมายการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากร กลุ่มการพยาบาล ตามภาระงานของหน่วยงาน โดยในแต่ละวัน จะต้องจัดบุคลากรปฏิบัติงานเป็น 3 ผลัด ได้แก่เวรเช้า(ปฏิบัติงานเวลา 08.00 น.-16.00 น.) เวรบ่าย (ปฏิบัติงานเวลา  16.00 น.- 24.00 น.) เวรดึก  (ปฏิบัติงานเวลา  24.00 น.- 08.00 น.) ทั้งนี้เพื่อบริการผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง
                ตารางเวรปฏิบัติงานในหน่วยงาน หมายถึง การมอบหมายการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรพยาบาลทุกคนในแต่ละหน่วยงานเป็นรายเดือน คำนวณตามจำนวนเวร ภาระงานของหน่วยงาน ในกลุ่มการพยาบาล และ บุคลากรพยาบาลทุกคนต้องขึ้นปฏิบัติงานตามตารางเวรที่ได้รับมอบหมาย (ผู้จัดเวร คือ หัวหน้างาน,ผู้ตรวจสอบ คือ หัวหน้าพยาบาล ผู้อนุมัติคือ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาล)
                ตารางเวรปฏิบัติงานเวรออนคอล และเวรส่งต่อผู้ป่วย หมายถึง การมอบหมายการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรพยาบาลที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ของทุกหน่วยงานเป็นรายเดือน ทั้งโรงพยาบาล ใช้ตารางเวรออนคอล และเวรส่งต่อผู้ป่วย ในชุดเดียว ผู้จัดเวร คือ หัวหน้าศูนย์ส่งต่อ  ทั้งนี้โดย คำนวณจำนวนเวร แบ่ง 3 ผลัด เวรเช้า เวรบ่าย เวรดึก  แล้วจัดสรรมอบหมายงานตามความเหมาะสม บุคลากรพยาบาลผู้ได้รับมอบหมายจะอยู่ประจำที่บ้านพัก และพร้อมจะขึ้นปฏิบัติงานเมื่อหน่วยงานหรือศูนย์ส่งต่อผู้ป่วยแจ้งเหตุ  กรณี ไปส่งต่อผู้ป่วย และ กรณีออนคอลเรียกเสริม เนื่องจากภาระงานเกินตามเกณฑ์ของหน่วยงาน  

วิธีปฏิบัติ
แนวทางการจัดตารางเวรปฏิบัติงานในหน่วยงาน
                1. หัวหน้าหอ/หัวหน้างาน วางแผนมอบหมายงาน จัดตารางเวรปฏิบัติงานในหน่วยงานให้แก่ บุคลากรพยาบาลทุกคนในหน่วยงาน เดือนละครั้ง ประมาณทุกวันที่ 20
                2. ผู้ปฏิบัติงานแจ้งความประสงค์ขอลาพักผ่อน ขออนุญาตไปราชการล่วงหน้าก่อน วันจัดเวร กับหัวหน้าหอผู้ป่วย ทั้งนี้การอนุมัติให้อยู่ดุลยพินิจของหัวหน้าหอผู้ป่วย  โดยคำนึงถึงประโยชน์ของราชการเป็นสำคัญ
กรณีหัวหน้าหอผู้ป่วยขอลาพักผ่อน หรือไปราชการโดยทราบล่วงหน้า มอบหมายให้ผู้ช่วยหัวหน้าหอฯ หรือหัวหน้าเวรในวันนั้นปฏิบัติงานแทน  โดยไม่จัดพยาบาลเสริม ยกเว้น หอผู้ป่วยคลอด จัดปฏิบัติงานเพิ่ม 1 คน
                3.หัวหน้าหอผู้ป่วย กำหนดจำนวนบุคลากร ต่อเวร โดยจัดแบ่ง เวรเช้า เวรบ่าย เวรดึก ให้เหมาะสมตามภาระงาน  คำนวณเวรโดยนำข้อมูลการลา การไปราชการมาประกอบ แล้วกำหนดวันทำงานให้แก่พยาบาลทุกคนในหน่วยงานเข้าปฏิบัติงานตามความเหมาะสมเสมอภาคและเป็นธรรม  โดยจะต้องมอบหมายให้ปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่าจำนวนวันที่กำหนดเป็นวันทำการปกติในแต่ละเดือน  เช่น  เดือนสิงหาคม  (31 วัน)  มีจำนวนวันทำการ  20  วัน  วันหยุด  11  วัน  พยาบาลแต่ละคนจะต้องได้รับการจัดเวรเข้าทำงานอย่างน้อย  20  วันทำการ (นับเวร)  โดยรวมวันลาและวันไปราชการ  และในแต่ละวันของเวรปกตินั้นไม่ควรจัดให้มีการทำงานมากกว่า  1  เวร(ครั้ง) โดยไม่มีความจำเป็น
                4.กรณีหน่วยงานมีบุคลากรไม่เพียงพอ การจัดเวรสามารถกำหนดให้พยาบาลอยู่เวรปฏิบัติงานได้เกินจำนวนวัน (เวร) ที่กำหนดได้  โดยให้มีสิทธิ์ได้รับค่าตอบแทน  และให้ผู้จัดระบุวงวันที่เป็นเวร OT ไว้ในตารางเวรของแต่ละคนที่ชัดเจน (วงกลมล้อมรอบเวรที่เป็นเวร OT) โดย การจัดเวรซ้อน 2 เวร และหรือกรณีแลกเวร ห้ามจัดเวรบ่ายต่อเวรดึก และ เวรดึกต่อเวรเช้า
                5.กรณีบุคลากรขึ้นปฏิบัติงานตามระบุในตารางเวรแล้ว หัวหน้าหอหรือหัวหน้าเวร พบว่า ในขณะปฏิบัติงานมีภาระงานเกิน เช่น จำนวนผู้ป่วยมากกว่าเกณฑ์โดยมีข้อมูลอ้างอิงตามเกณฑ์ภาระงานแนวทางปฏิบัติของหน่วยงาน หรือ กรณีหัวหน้าพยาบาลอนุญาตให้บุคลากรไปราชการจำเป็นที่ไม่ทราบล่วงหน้า หรือ กรณีขาดบุคลากร จากการลาป่วย ลากิจฉุกเฉิน มอบหัวหน้าหอผู้ป่วย  จัดบุคลากรพยาบาลทดแทน โดยผู้ที่มาปฏิบัติงานจะต้องลงนามการมาปฏิบัติงานในสมุดลงชื่อ พร้อมเขียนรายงานขออนุมัติปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ และขออนุมัติเบิกค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ (ตามเอกสารภาคผนวก 1 )
                6.หัวหน้าหอผู้ป่วยจัดเวรให้เสร็จสิ้นภายในวันที่25 เพื่อเสนอหัวหน้าพยาบาลตรวจสอบ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลอนุมัติตามลำดับ เนื่องจากการสั่งให้พยาบาลอยู่เวรปฏิบัติงานแต่ละเดือนจะต้องได้รับมอบหมายหน้าที่ตามลายลักษณ์อักษรจาก หัวหน้าพยาบาล และผู้อำนวยการโรงพยาบาล ตามลำดับ  หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ

แนวทางการกำหนดวันที่มอบหมายให้พยาบาลปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ(OT) พิจารณาตามลำดับ ดังนี้
1.ตรวจสอบจำนวนวันที่ปฏิบัติงานนอกเวลา ( OT )  ว่ามีจำนวนเท่าไร โดย นับจำนวนเวรตามตารางเวรของแต่ละคน ลบด้วยจำนวนวันที่กำหนดเป็นวันทำการปกติ
2.พิจารณาเวรนอกเวลา(OT)  จากวันที่พยาบาลปฏิบัติงาน  2  เวรเป็นลำดับแรกโดยให้กำหนดเวรเช้าเป็นเวร OT ( เนื่องจากในการจัดเวรปฏิบัติงาน ต้องมีการจัดอัตรากำลังเวรบ่าย/ดึกให้เต็มก่อน)
3.หากพิจารณาตามข้อ 2 แล้ว จำนวนวัน OT ยังไม่พอ ให้พิจารณาเวรเช้าที่เป็นวันหยุดราชการเป็นอันดับถัดมา ข้อพึงระวัง ไม่กำหนดเวรเช้าที่ไปราชการเป็นเวร OT เนื่องจากการไปราชการจะต้องใช้ระเบียบการเบิกเงินไปราชการ
4.นอกเหนือจากข้อกำหนดข้างต้นแล้วให้เลือกเวรนอกเวลาของวันอื่นๆ ได้แก่ เวรบ่าย  หรือเวรดึก  มากำหนดจนครบจำนวนวัน  OT ที่กำหนด
               
ข้อควรระวังในการจัดตารางเวร
1.  การจัดตารางเวรแต่ละเดือน  จะต้องมอบหมายให้พยาบาลแต่ละคนปฏิบัติงานครบตามจำนวนวันทำการปกติ  จะจัดให้น้อยกว่าไม่ได้  หากจัดให้น้อยกว่าจะถือว่าพยาบาลผู้นั้นขาดราชการและผู้จัดจะต้องรับผิดชอบทางละเมิด  หรือกระทำผิดวินัย  ระบบค้างเวรไม่สามารถทำได้เพราะจะทำให้พยาบาลคนนั้นๆขาดราชการ  และมีผลต่อการเบิกเงินเดือน  และหรือกระทำผิดวินัย
                2.  หากมีการจัดตารางเวร  ให้แก่พยาบาลเกินจำนวนวันทำการปกติของแต่ละเดือน  พยาบาลจะต้องได้รับค่าตอบแทนตามอัตราที่กำหนด  หน่วยงานไม่สามารถใช้วิธีค้างวันหยุดแก่พยาบาลคนนั้นๆในเดือนถัดไปแทนค่าตอบแทนได้  จะต้องเบิกค่าตอบแทนให้เพียงอย่างเดียว  หากใช้วิธีการค้างวันหยุดจะถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบราชการ  และเป็นการใช้อำนาจทางปกครองที่กระทบต่อสิทธิประโยชน์ของข้าราชการ  ผู้บังคับบัญชาเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายและระเบียบข้าราชการ
               
3.  การแก้ไข  หรือเปลี่ยนแปลงตารางเวร
                คำสั่งมอบหมายหน้าที่  หรือตารางเวร  อาจมีการแก้ไข  หรือเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม  อันเนื่องมาจากแลกเปลี่ยนเวร (ทั้งนี้จะต้องมีใบแลกเวรประกอบ ขั้นตอน ตามภาคผนวก 2) การคืนวัน  OT  หรือการลา  ในการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงให้ดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษร  และได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา  หรือผู้ได้รับมอบอำนาจ  เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้นำหลักฐานไปแนบไว้กับคำสั่งเดิม  สำหรับใช้เป็นหลักฐานต่อไป  ในการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถลบข้อความ  หรือเปลี่ยนแปลงในตัวคำสั่งเดิมได้  เป็นการแก้ไขเอกสารราชการโดยพลการ  อาจเข้าข่ายการปลอมแปลงเอกสาร  อันเป็นความผิดทางอาญา  ต้องให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่ง (ผู้อำนวยการ  หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย) ออกคำสั่งแก้ไขคำสั่งเดิม

แนวทางการจัดตารางเวรปฏิบัติงานเวรออนคอล และเวรส่งต่อผู้ป่วย
เนื่องจากกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลบางขัน  มีบุคลากรพยาบาลไม่เพียงพอตามภาระงาน มีศักยภาพเป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิระดับต้น ดังนั้นบ่อยครั้งจะมีการส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษายังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า เช่น โรงพยาบาลทุ่งสง โรงพยาบาลมหาราช ฯลฯ  และในการจัดเวรปฎิบัติงานตามตารางเวรปกติ จะมีบางเวรมีภาระงานเกิน  ดังนั้น กลุ่มการพยาบาลจึงต้องจัดตารางเวรปฏิบัติงานเวรออนคอล และเวรส่งต่อผู้ป่วย เพื่อแก้ปัญหาและทำให้การปฏิบัติงานมีคุณภาพ ผู้ป่วยปลอดภัย โดย มีแนวทางการจัดเวรดังนี้
1. หัวหน้าศูนย์ส่งต่อ วางแผนมอบหมายงาน จัดตารางเวรออนคอล และเวรส่งต่อผู้ป่วย แก่บุคลากรพยาบาลที่คุณสมบัติตามเกณฑ์ของทุกหน่วยงาน เดือนละครั้ง ประมาณทุกวันที่ 25
                2. ประสานไปยังทุกหน่วยงานเพื่อขอข้อมูลการจัดเวรปฏิบัติงานปกติของหน่วยงาน ผู้ปฏิบัติงานที่แจ้งความประสงค์ขอลาพักผ่อน ขออนุญาตไปราชการ กับหัวหน้าหอผู้ป่วย 
                3.หัวหน้าศูนย์ส่งต่อ กำหนดจำนวนบุคลากร ต่อเวร โดยจัด เวรเช้า เวรบ่าย เวรดึก เวรละ 1 คน ทุกวัน  คำนวณเวรทั้งหมด จัดเฉลี่ยเวรตามความเหมาะสมเสมอภาคและเป็นธรรม
                4.หัวหน้าศูนย์ส่งต่อ จัดเวรให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 เพื่อเสนอหัวหน้าพยาบาลตรวจสอบ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลอนุมัติตามลำดับ

แนวทางการบริหารเวรออนคอล และเวรส่งต่อผู้ป่วย ดังนี้
                1. ในการปฏิบัติงานจริง จะมีบางกรณีต้องมีพยาบาลปฏิบัติงาน มากกว่า 1 คน ต่อเวร เช่น กรณีไปส่งต่อผู้ป่วยวิกฤต  , กรณีไปส่งต่อผู้ป่วย มากกว่า 1 ราย  ในเวลาเดียวกันหรือเวลาใกล้เคียงกัน  , กรณีมีภาระงานเกินในหน่วยงานและมีไปส่งต่อผู้ป่วพร้อมกัน , กรณีมีภาระงานเกินจากอุบัติเหตุหมู่ ฯลฯ  ดังนั้น ในการบริหารจัดการกรณีดังกล่าว จึงกำหนดแนวทาง ดังนี้
                1.1 ในเวรเช้า กรณีภาระงานเกินและจำเป็นต้องมีพยาบาลปฎิบัติงานมากกว่า 1 คน ต่อเวร ในการส่งต่อ   มอบหัวหน้างาน และหรือหัวหน้าเวร เรียกพยาบาล ของหน่วยงานตนเอง  ที่ออฟเวร เพื่อไปส่งต่อผู้ป่วย หรือ หากไม่มีมอบพยาบาลในเวรเช้าของหน่วยงานไปส่งต่อ (พิจารณาตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก)
                1.2 ในเวรบ่าย และ ดึก กรณีภาระงานเกินและจำเป็นต้องมีพยาบาลปฎิบัติงานมากกว่า 1 คน ต่อเวร      มอบเวรบ่ายและเวรดึกปฏิบัติงานสำรองเวรซึ่งกันและกัน ดังนั้นหากเกิดกรณีดังกล่าว ในเวรบ่าย หัวหน้าเวร ก็จะเรียกพยาบาลเวรดึกมาปฏิบัติงาน สำหรับเวรดึกหัวหน้าเวร ก็จะเรียกพยาบาลเวรบ่ายมาปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้ที่ได้รับมอบหมายอยู่เวรบ่ายดึกตามตารางเวรออนคอล/ส่งต่อ ต้องอยู่ประจำบ้านพักทั้งสองคน
               
ข้อพึงระวังสำหรับผู้ปฏิบัติงาน/การแลกเปลี่ยนเวร

  1. กรณี มอบหมายงานหรือจัดตารางเวรแล้ว จะขอแลกเปลี่ยนเวร จะต้องมีเอกสารแลกเวรประกอบ

2.   วันที่กำหนดให้เป็นเวร  OT  หากผู้ได้รับมอบหมายไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เช่น ป่วย กิจฉุกเฉิน ไปราชการด่วน ให้พยาบาลผู้นั้นบันทึกเสนอขออนุมัติหัวหน้าหอผู้ป่วยผู้บังคับบัญชา  อนุมัติ(ไม่ต้องลา)  หากได้รับอนุมัติ  หัวหน้าหอผู้ป่วยจะต้องจัดพยาบาลอื่นปฏิบัติหน้าที่แทน  พร้อมให้เก็บเอกสารรวบรวมไว้เป็นหลักฐานคู่กับใบเบิก  OT ของพยาบาลผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนต่อไป
                กรณีไม่ได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจ  พยาบาลผู้นั้นจะต้องมาปฏิบัติราชการตามคำสั่งไม่สามารถจ้างให้พยาบาลผู้อื่นมาปฏิบัติงานแทน (ขายเวร)   โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา หากไม่มาปฏิบัติงานจะเข้าข่ายกระทำผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา  หรือละทิ้งหน้าที่ราชการ  หรือกรณีมีการจ้างคนอื่นมาปฏิบัติงานแทนโดยพลการ  ผู้ปฏิบัติแทนก็ไม่สามารถเบิกค่าตอบแทนได้  และหากเกิดกรณีกระทำการละเมิดต่อผู้ป่วย  หรือหน่วยงาน  พรบ. ความรับผิดจะไม่คุ้มครอง  เนื่องจากเป็นการปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่  หรือไม่ได้รับมอบหมายหน้าที่
3.  หากมีการปฏิบัติงานนอกเวลาในวันหนึ่ง ๆ  เกิน  1  ครั้ง  ก็ยังสามารถเบิกค่าตอบแทนได้ตามอัตราที่
กำหนด  กรณีโรงพยาบาลสั่งให้ผู้อยู่ระหว่างลามาปฏิบัติงาน  ให้ยกเลิกวันลา  ไม่สามารถเบิกค่าตอบแทนได้  แต่ถ้าหากในวันนั้นปฏิบัติงานเกินเวลาที่กำหนด  ก็สามารถเบิกค่าตอบแทนในเวลาส่วนที่เกินได้ตามอัตราที่กำหนด
การขอเบิกค่าตอบแทน  ให้แนบหลักฐาน  ดังนี้

    1. คำสั่งมอบหมายหน้าที่  หรือตารางเวร
    2. หลักฐานการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง (ใบแลกเปลี่ยนเวร ,เอกสารสั่งเพิ่มเติม)
    3. หลักฐานการลงชื่อปฏิบัติงาน  ตามวันที่ขอเบิกเงิน
    4. กรณีเป็นเวรเสริมนอกเหนือจากตารางเวร  ต้องส่งเอกสารขอเบิกค่าตอบแทน ที่มีคำรับรองของผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจจะเป็นหัวหน้าเวรหรือหัวหน้าหอผู้ป่วย

ตัวชี้วัด

  1. ทุกหน่วยงานที่มีการจัดอัตรากำลังเป็นเวรผลัด ได้แก่ หอผู้ป่วยใน หอผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน หอผู้ป่วยคลอด ได้มอบหมายงานแก่บุคลากร ถูกต้อง ครบถ้วน 100 %
  2. บุคลากรผู้ได้รับมอบหมายงานตามตารางเวรสามารถปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย 100 %
  3. อุบัติการณ์/ข้อร้องเรียนของบุคลากร ด้านการบริหารอัตรากำลัง  เป็นศูนย์

 

การประเมินผล

  1. ประเมินผลจากการตรวจสอบการจัดตารางเวร ทุกหน่วยงาน เดือนละ 1 ครั้ง
  2. ประเมินผลจากการรวบรวมอุบัติการณ์/ข้อร้องเรียนด้านการบริหารอัตรากำลัง เดือนละ 1 ครั้ง
  3. ประเมินผลจากนิเทศติดตามการปฏิบัติงานของบุคลากร และสมุดลงชื่อปฏิบัติงาน เดือนละ 1 ครั้ง
 
 

 
     

โรงพยาบาลบางขัน ต.บ้านลำนาว อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช 80360 โทร-075371025 Fax-075371024

Free Web Hosting